GERD
Thailand GERD Guideline 2020
Ref. https://www.gastrothai.net/source/content-file/content-file-id-298.pdf
อาการที่มีความจำเพาะต่อ GERD (Typical) คือ
อาการแสบ ร้อนยอดอก (retrosternal burning หรือ heartburn)
และเรอเปรี้ยว (regurgitation)
ทั้งนี้ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการกลืนลำบาก (dysphagia) ได้แต่พบได้น้อย
แบ่งเป็น
กลุ่มอาการ ของหลอดอาหาร (esophageal syndrome) และ
กลุ่มอาการ นอกหลอดอาหาร (extraesophageal syndrome)
Esophageal syndrome
อาการแสบร้อนยอดอก (heartburn)
เรอเปรี้ยว (regurgitation)
Tx : Omeprazole 20 mg/day
อาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่ไม่ได้เกิดจาก โรคหลอดเลือดหัวใจ (reflux chest pain syndrome หรือ non-cardiac chest pain : NCCP)
Tx : Omeprazole 40 mg/day
หาก ได้ EGD แล้วมีโรคต่อไปนี่้ ที่ยังจัดอยู่ในกลุ่มนี้
หลอดอาหารอักเสบ (reflux esophagitis)
หลอดอาหารตีบ (stricture)
Barrett’s esophagus
มะเร็งหลอดอาหารชนิด adenocarcinoma
Globus sensation
เป็นกลุ่มอาการของ functional esophageal disorder
อาการจุกแน่น หรือรู้สึกมีก้อนอาหาร ค้างในลำคอ โดยไม่มีกลืนเจ็บ (odynophagia) และไม่มีกลืน ลำบาก (dysphagia) ร่วมด้วย
มักไม่ได้เป็น ตลอดเวลา โดยอาการดังกล่าวจะต้องไม่ได้เกิดจาก structural lesion กรดไหลย้อน หรือความผิดปกติใดๆ ต่อเยื่อบุชั้น mucosa เช่น gastric inlet patch หรือความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของ หลอดอาหาร (esophageal motility disorder)
Tx : Omeprazole 40 mg/day
Extraesophageal GERD
อาการไอ (reflux cough syndrome)
กล่องเสียงอักเสบ (reflux laryngitis syndrome)
อาการหอบหืด (reflux asthma syndrome)
ฟันกร่อน (reflux dental erosion)
นับเป็นอาการที่มีหลักฐานยืนยันว่า มีความสัมพันธ์กับ GERD (established association)
นอกเหนือจาก นั้นมีอาการอื่นที่อาจเป็นผลจาก GERD (proposed association) ได้แก่
คออักเสบ (pharyngitis)
ไซนัสอักเสบ (sinusitis)
พังผืดปอด ที่ไม่พบสาเหตุ (idiopathic pulmonary fibrosis) และ
หูส่วนกลาง อักเสบกลับซ้ำ (recurrent otitis media syndrome)
Tx : Omeprazole 40 mg/day
Severity ของ GERD
แบ่งเป็น 2 ระดับ ดังต่อไปนี้
Mild : ความถี่ ของอาการมักจะเกิดขึ้น >=2 ครั้ง/week
2. Moderate - Severe : ความถี่ของ อาการมักจะเกิดขึ้น >= 1 ครั้ง/week
H2 blocker สำหรับคนท้อง
ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
first-line Rx คือ lifestyle modification ก่อนเสมอครับ
รับประทานอาหาร ปริมาณต่อมื้อ ลดลง
หลีกเลี่ยง การรับประทาน อาหารก่อนนอน
พิจารณาการ ยกหัวเตียงนอนสูงขึ้น (กรณีมีอาการ ขณะอยู่ในท่านอน)
หลีกเลี่ยงท่าทางหรืออาหาร ที่กระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบ
ถ้าไม่ดีขึ้นจึงพิจารณาให้ยานะครับ ยาพวก aluminium, calcium, magnesium antacids สามารถช่วยลดอาการได้และปลอดภัยครับ
ทั้งนี้ให้หลีกเลี่ยง magnesium triplicate form เนื่องจากมีผลต่อเด็กในครรภ์ และในไตรมาส 3 ก็พยายามหลีกเลี่ยง magnesium ทุก form ครับ (เพราะมันอาจจะไป inhibit uterine contraction ได้ครับ)
ยา H2RA ให้ได้อย่างปลอดภัยในคนท้องครับ ส่วน PPI ให้เก็บไว้เป็นไม้ตายสุดท้ายครับ