LIFESS
หลักการสำคัญ ได้แก่
การยอมรับ “การเสียชีวิต” ว่าเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของชีวิต
ให้ความสำคัญกับการดูแลทาง ด้านจิตใจ + อาการทางกาย เสมอ
ให้ผู้ป่วย และ ครอบครัว มีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล
ให้ความสำคัญต่อ ค่านิยม ความเชื่อ และศาสนาของผู้ป่วย และครอบครัว
มี ระบบการดูแล ที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมาณของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต ตลอดจนให้การดูแลภาวะเศร้าโศกของครอบครัว ภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้ว
การดูแลควรทำในลักษณะของคณะสหวิชาชีพ เพื่อให้คณะผู้ดูแลสามารถดูแลปัญหาสุขภาพด้านต่างๆ ของผู้ป่วยและครอบครัวได้ดีที่สุด
สามารถทำควบคู่ไปพร้อมๆ กับการรักษาอื่นๆ เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา หรือ เคมีบำบัด ตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรคเพื่อลดความทุกข์ทรมาณของผู้ป่วย และ ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวเผชิญหน้ากับการเจ็บป่วยได้ดีขึ้น
- การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อการดูแลแบบประคับประคอง ตาม “LIFESS” มีดังนี้
- L = “Living Will”
หมายถึง การแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการดูแลรักษาและวิธีการดูแลหากมีอาการทรุดลง
- I = “Individual belief”
หมายถึง ความเชื่อของผู้ป่วยเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ความตาย หรือการเสียชีวิต
- F = “Function”
หมายถึงระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือดูแลตนเองของผู้ป่วย
ใช้ PPS , ADL , iADL
- E = “Emotional”
หมายถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัวต่อการเจ็บป่วย รวมทั้งวิธีที่ผู้ป่วยและครอบครัวใช้เผชิญกับความรู้สึกดังกล่าว
- S = “Symptoms”
หมายถึงความไม่สุขสบายทางร่างกายและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจให้วิธีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือใช้แบบประเมิน เช่น Edmonton Symptom Assessment System (ESAS)
- S = “Social and support”
หมายถึงปัญหาสุขภาพทางด้านสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนที่พึ่งของผู้ป่วยและครอบครัวในเวลาที่มีการเจ็บป่วย
Advance care plan
คือ การวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
- Patient preference
สิ่งที่คนไข้ต้องการ ให้ความสำคัญ เป้าหมายการดูแลรักษาเมื่อถึงวาระสุดท้ายของตนเอง
- Advance decisions
คือ การแสดงเจตนาว่าจะรับ/ไม่รับการดูแลรักษา เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเมื่อสูญเสียสติสัมปชัญญะ ไปจนไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตนเองแล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่กฎหมายให้การรับรอง ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ ชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมาณจากการเจ็บป่วย พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามมาตรา ๑๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่แพทย์จะต้องวินิจฉัยก่อนปฏิบัติตามว่าคนไข้อยู่ในภาวะ นั้นหรือถึงเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามแล้วหรือยัง
- Proxy nomination
การเลือกบุคคลใกล้ชิดแสดงเจตนาแทน เมื่อไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
Palliative Note (10/11/2565)
- ลูกสาว 3 ACP ยังไม่ได้คุย ACP กันเป็นทางการ
- Pt. พูดเองว่า ชีวิตนี้ปรงแล้ว ได้ทำสิ่งที่ตนเองต้องการแล้ว ได้บวชแล้ว
ขอเลือก no tube, no CPR, no inotrop ขอ comfort care, POD at home ไม่มีทุกข์ทรมาน
***หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง แย่ลง ขอให้คุย ACP กับ ผู้ป่วย และญาติใหม่ทุกครั้งครับ******