HIV/AIDS Treatment and Prevention
Reference
แนวทางเวชปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคนไข้เอชไอวี 2564-2565
Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2021/2022
การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี และการตรวจติดตามการรักษา (H IV Diagnosis and Treatment Monitoring)
กระบวนการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีต้องปฎิบัติตามแนวทาง 5C ขององค์การอนามัยโลก คือ
ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับบริการตรวจ (Consent)
ต้องให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการตรวจทั้งก่อนและหลังการตรวจ (Counseling)
ต้องเก็บรักษาความลับของผู้รับบริการตรวจอย่างเคร่งครัด (Confidential)
ผลการตรวจมีความถูกต้องและชัดเจน (Correct Test Result)
ส่งต่อผู้รับบริการที่ผลเป็นบวก ให้เข้าระบบการดูแลรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีต่อไปโดยเร็ว (Connection to care)
แนวทางส่งตรวจ
อายุ 24 เดือนขึ้นไป
ใช้แนวทางการตรวจด้วยชุดตรวจกรอง 3 ชุดตรวจ โดย
ชุดตรวจกรองที่ 1 มีความไวสูงสุด
ชุดตรวจกรองที่ 2 มีความจำเพาะสูงกว่า ชุดตรวจกรองที่ 1
ชุดตรวจกรองที่ 3 มีความจำเพาะสูงกว่า ชุดตรวจกรองที่ 2
หาก ตรวจด้วยวิธี 3 ชุดตรวจ ครั้งแรก แล้ว ผลเป็น สรุปผลไม่ได้(Inconclusive)
หากประเมินว่า "อาจติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน" > ส่งตรวจเพิ่มด้วยวิธี HIV qualitative NAT หรือ HIV VL เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ยา
หรือ ให้ตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวีซ้ำในอีก 2 สัปดาห์
การแจ้งผล
แจ้งผลเฉพาะผู้รับบริการเท่านั้น
ไม่ควรแจ้งผลตรวจเลือดทางโทรศัพท์ หรือทางสื่ออื่นๆ ที่ไม่เห็นหน้าผู้รับบริการ
ไม่ควรแจ้งผ่านผู้อื่น
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี
อาการ หรืออาการแสดง เข้าได้กับการติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์
เพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน + ที่ป้องกัน
วัณโรค
ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดและใช้เข็มร่วมกัน
ตั้งครรภ์และสามี
ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อเอชไอวี
บุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
ถูกกล่าวหาและผู้ถูกละเมิดทางเพศ
ตรวจเลือดก่อนแต่งงานหรือผู้ที่วางแผนมีบุตร
อยู่ระหว่างการรับยาป้องกันก่อน และ หลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP หรือ PEP)
HIV Testing
การส่งตรวจ
#A1 Test (Sensitivity สูงสุด)
ถ้า A1 negative = True Negative
ถ้า A1 Positive >> ตรวจ A2 ต่อ
# A2 TEST
ถ้า A2 Positive ให้ตรวจด้วย A3 ต่อ
ถ้า A2 Negative >> ตรวจ A1+A2 อีกรอบ
(ใน lab ที่เดียวกัน)A1- A2- = True Negative
A1+ A2- = Inconclusive
# A3 TEST
ถ้า A3+ = True Positive
ควรแนะนำให้ส่งตัวอย่างที่ 2 เพื่อป้องกันการสลับคนหรือสลับตัวอย่างหรือ สลับผลการตรวจ
ถ้า A3- = Inconclusive
หมายเหตุ
Inconclusive ;
F/U 2 wk ตรวจ Anti-HIV ใหม่อีกที
หรือ ถ้าคิดว่าเสี่ยงมาก หรือ เป็น Window peroid ให้ส่ง HIV Viral load เลย
ถ้ายังเป็น Inconclusive รอบ 2 ถือว่า Negative
การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีซ้ำ (Repeat HIV testing)
- กรณีผลตรวจครั้งแรกเป็น “ลบ”
ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำ ถ้าสามารถ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
กลุ่มที่ยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ ได้แก่
ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด
หญิง/ ชายบริการทางเพศ
คู่ที่มีผลเลือดต่าง (discordant couple)
บุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและ อาจอยู่ในระยะ window period
หญิงที่ให้นมบุตร และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีเพศสัมพันธ์กับสามี
ติดเชื้อก่อนคลอดไม่เกิน 1เดือน
มีเพศสัมพันธ์กับสามี ที่มีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่ไม่มีผลการตรวจของสามี
ผู้ที่เข้ารับการรักษาซ้ำเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ผู้ติดเชื้อวัณโรคที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ถึงการติดเชื้อเอชไอวี
บุคคลที่ได้รับยาป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัส (PEP) หรือบุคคลที่ได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ ก่อนการสัมผัส (PrEP) ควรตรวจอย่างน้อยทุก 3 เดือนตลอดระยะเวลาที่รับยาป้องกันการติดเชื้อ
บุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง
- กรณีผลตรวจครั้งแรกเป็น “สรุปผลไม่ได้”
ตรวจซ้ำที่ 2 สัปดาห์ เพื่อ จะได้บอกคนไข้ว่า
การเกิดผลบวกปลอม (false positive) อธิบายว่า มีสารบางอย่างในร่างกายผู้รับ บริการที่มีปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับ ชุดตรวจ (cross Reactivity) ทำให้เกิดผลบวกปลอม (false positive)
ผลตรวจซ้ำจะเปลี่ยนจาก “สรุุปผลไม่ได้” เป็น “ผลลบ"
- กรณีผลตรวจครั้งแรกเป็น “บวก”
พิจารณาตรวจเลือดซ้ำอีกครั้ง ในกรณีต่อไปนี้
ผู้ที่ติดเชื้อรายใหม่ แต่ไม่พบหลักฐาน แสดงผลตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีจากห้องปฏิบัติการ ที่ได้มาตรฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงอยู่ใน OPD card ของผู้รับบริการในสถานพยาบาลนั้น ๆ
ผู้รับบริการที่ส่งต่อจากสถานบริการแห่งอื่น และต้องการมาเริ่มการรักษาใหม่
- การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่รับยาต้านเอชไอวีแล้ว
ไม่แนะนำให้ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่รับยาต้านเอชไอวีอยู่
หากจำเป็นต้องตรวจ ให้ระมัดระวังในการแปลผล หากผลการตรวจไม่สอดคล้องกับการตรวจครั้งก่อน ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการแปลผล
อายุ < 12 เดือน
ไม่แนะนำ ให้ Dx จาก Anti-HIV เพราะอาจเป็น Anti-body ของแม่ ที่ผ่านมาทางสายรกและคงอยู่ในร่างกายของเด็กได้นานถึงอายุ12-24 เดือน
แนะนำ ให้ใช้การตรวจหาเชื้อไวรัส
การตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับ ตรวจติดตามการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
CD4 (Cluster of differentiation 4)
วัตถุประสงค์การตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 เพื่อ
การพยากรณ์โรค
การตัดสินใจ ในการให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ
การติดตามการดูแลและประเมินผลการรักษาด้วยยา
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการแปลผลการตรวจหา CD4
การผ่าตัดใหญ่
การได้รับวัคซีน
การติดเชื้อไวรัส
ได้รับยาในกลุ่มที่มี steroid
HIV viral load
การส่งตรวจ HIV VL
ตรวจปริมาณสารพันธุกรรมชนิด RNA
ส่งตรวจ VL ในเดือนที่ 3 - 6 และ 12 หลังเริ่มยาต้านเอชไอวีในปีแรก
ส่งตรวจ VL ในเดือนที่ 3 หลังปรับเปลี่ยนยาต้านเอชไอวีจากสูตรที่ดื้อยา
ส่งตรวจ VL อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี
ปัจจัยรบกวน
ไข้ มีการติดเชื้อต่างๆ
ได้รับวัคซีน จะทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายถูกกระตุ้นและ มีผลในการเพิ่มปริมาณของเชื้อไวรัสได้มากกว่า 10 เท่า
HIV drugresistance testing
ตรวจจีโนไทป์ (genotype)
วัตถุประสงค์เพื่อ
ประกอบการตัดสินใจ วินิจฉัย "การรักษาล้มเหลว"
ติดตามการระบาดของเชื้อเอชไอวีดื้อยา
การเลือกใช้และปรับเปลี่ยนสูตรยา
ข้อบ่งชี้การส่งตรวจดื้อต่อ ยาต้านเอชไอวี (HIV genotype for drug resistance testing)
เมื่อแพทย์ สงสัยว่าจะเกิดเชื้อดื้อต่อยา
ควรเจาะเลือดขณะที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวียังรับประทานยาสูตรนั้นอยู่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ หรือ ส่งตรวจทันที หลังจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีหยุดยาสูตรนั้น หรือหยุดยาไม่เกิน 4 สัปดาห์
ถ้าผู้ติดเชื้อหยุดยาเกิน 4 สัปดาห์ไม่ควรส่งตรวจ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะไม่พบเชื้อดื้อยา
การดูแลรักษาผู้ใหญ่ติดเชื้อเอชไอวี (Management of HIV-Infected Adult)
เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ทุกราย ทั้งที่มี CD4 สููง มีประโยชน์ในการลดโรคที่เป็น serious AIDS-related และ serious non-AIDS related และช่วยป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อทางเพศสัมพันธ์์
ควรเริ่มยาต้านเอชไอวีภายในวันเดียวกันกับวันที่วินิจฉัย (same day ART) หรือ ภายในเวลา 7 วัน (rapid ART) โดยตรวจคัดกรองเบื้องต้นไม่พบว่ามีหลักฐานของ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส
สูตรยา สูตรแรก ได้แก่ (TAF หรือTDF) + (3TC หรือFTC) + DTG
ข้อดี : ควบคุุมไวรัสได้ดี มีผลข้างเคียงน้อย และใช้วันละครั้ง
แนะนำเป็น fixed dose combination ที่เรียกว่า TLD คือ tenofovir/lamivudine/dolutegravir (300/300/50) 1 tab
กรณีที่ยังไม่มียา DTG ใน รพ. หรือ ผู้ติดเชื้อไม่สามารถกินยา DTG ได้พิจารณาเลือก EFV หรือ RPV แทน
สูตรทางเลือก ได้แก่ ABC + 3TC หรือ AZT + 3TC ร่วมกับ DTG หรือ EFV หรือ RPV
กรณีปริมาณ HIV Viral load วัดไม่ได้ (undetectable) ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี และ CD4 > 350 cells/mm3 ไม่จำเป็นต้องตรวจ CD4
กรณีมีปัญหาผลข้างเคียงทางระบบประสาทจาก EFV ให้พิจารณาลดขนาดยา EFV จาก 600 มก./วัน เป็น 400 มก./วัน หรือเปลี่ยนเป็น NNRTIs อื่นได้แก่ RPV
กรณีใช้ RPV ก่อนเริ่มยา ควรตรวจปริมาณ HIV VL ถ้า VL > 500,000 copies/mL ไม่ควรใช้เนื่องจากจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการรักษาล้มเหลว
กรณีที่ไม่สามารถตรวจ HIV VL ก่อนเริ่ม RPV อาจพิจารณาใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ CD4 > 350 cells/mm3
ผู้ที่กำลังได้รับ TDF ควรตรวจติดตามการทำงานของไต โดยติดตาม eGFR ทุก 6 เดือน และ UA ปีละ 1 ครั้ง
กรณีที่มี CrCl < 50 มล./นาที พิจารณาปรับเป็น TAF หรือ ปรับลดขนาดยา TDF
ในผู้ที่รับยาต้านเอชไอวีและกินยาสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องนัดบ่อยครั้ง แนะนำให้นัดติดตาม ทุก 3-6 เดือน
1st Regimen 2022
1st : TAF หรือ TDF + 3TC หรือ FTC + DTG หรือ EFV หรือ RPV )
TDF : eGFR ทุก 6 month , UA q 12 monthCrCl < 50 มล./นาที -> ใช้ TAF แทน หรือ ลดขนาดยา TDF
2nd : ABC หรือ AZT + 3TC + DTG หรือ EFV หรือ RPV )
สูตร TLD (Tenofovir + Lamivudine + Dolutegravir)
กิน 1 tab q 24 hr
ประกอบด้วย
Tenofovir (TDF) 300 mg q 24 hr
Lamivudine (3TC) 300 mg q 24 hr
Dolutegravir (DTG) 50 mg q 24 hr
TLD ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มี CrCL >= 50 mL/min
หาก CrCL 30 - 40
Tenofovir (TDF) 300 mg q 48 hr
Lamivudine (3TC) 150 mg q 24 hr
Dolutegravir (DTG) 50 mg q 24 hr
หาก CrCL < 30 เปลี่ยนสูตรเถอะ เพราะ TDF ใช้ไม่ได้แล้ว
ตารางปรับยา
หยุดตรวจ CD4 หาก > 350 cells/mm3 ติดต่อกัน 2 ปี
กลุ่มอาการอักเสบจากภาวะฟ์็นตัวของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune Reconstitution Inflammatory Syndrome: IRIS)
ภาวะที่มีอาการทรุดลงของวัณโรคหลังเริ่มยาต้านเอชไอวีเรียกว่า TB paradoxical IRIS หรือ
ภาวะที่เกิดจากเชื้อวัณโรคที่ซ่อนอยู่แสดงอาการหลังเริ่มยาต้าน HIV ไม่นาน เรียกว่า unmasking TB IRIS
เชื่อว่าเกิดจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของ immune ต่อ TB ส่งผลให้เกิดการตอบสนอง ของการอักเสบที่รุนแรงต่อเชื้อก่อโรคหรือแอนติเจนที่ยังหลงเหลืออยู่ทั้งที่ยังมีชีวิตและเป็นซากที่ตายแล้ว
โดยทั่วไปแล้วกลุ่มอาการการอักเสบจากการฟื้นตัวของระบบภูมิคุ้มกันไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรงยกเว้น ในระบบประสาทส่วนกลางนั้นก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้จากภาวะความดันในสมองที่สูงขึ้น
เกิดภายใน 3 เดือนแรกของการรักษา ดีขึ้นได้เองภายในประมาณ 2-4 สัปดาห์
รักษา
รักษาวัณโรค และยาต้านเอชไอวีต่อเนื่อง โดยไม่ต้องมีการปรับชนิดและขนาดของยา
การรัักษา TB paradoxical IRIS ให้ prednisolone 1 มก./กก./วััน และค่อยลดขนาดยาทุก 2 wk จนหยุุดยาได้ ภายในระยะ เวลา 4-8 สัปดาห์