Serotonin syndrome
อาการทางคลินิก
ผู้ป่วยที่เป็น SS มีอาการ triad ทางคลินิก คือ ประการแรกมีความผิดปกติของ cognition และ behavior ได้แก่ confusion agitation ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ visual hallucination ในบางรายผู้ป่วยมีอาการชักร่วมด้วย ในรายที่เป็นมากมีความเปลี่ยนแปลง ของ consciousness ประการที่สอง ได้แก่ ความผิดปกติของ ANS อาการที่สำคัญคือ diaphoresis, ความดันโลหิตสูง, หัวใจเต้นเร็ว ประมาณ 50% ของผู้ป่วยมีไข้ซึ่งอาจจะสูงได้มากๆ ประการที่สาม คือ อาการความผิดปกติทาง neuromuscular เช่น myoclonus, hyperreflexia, muscle rigidity อาการ muscle rigidity เฉพาะที่ขาเข้าใจว่าเป็นอาการที่ค่อนข้างจำเพาะสำหรับ SS นอกจากนี้ยังพบอาการ opisthotonos, trismus อาการ dilated pupils พบประมาณ 25% ของ SS โดยที่พบใน neuroleptic malignant syndrome (NMS) น้อย การตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบความผิดปกติที่เป็น diagnostic สำหรับ SS แต่ที่สำคัญ คือ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคอื่นๆ
การวินิจฉัย
Ddx : drug induced hyperthermia เช่น NMS และ malignant hyperthermia (MH)
ในปัจจุบันยังไม่มี diagnostic criteria ที่แน่นอนสำหรับ SS
ผู้ป่วยมีอาการแสดงความผิดปกติของ cognitive และ behavior, ANS dysfunction และ neuromuscular และหรือมีไข้ร่วมด้วย ประการที่สาม ได้แก่ประวัติที่ผู้ป่วยได้รับยาที่ทำให้ 5-HT เพิ่มขึ้น
การรักษา
หยุดยาที่ทำให้เกิด SS ทันที เช่น
opiate derivative เช่น ยาแก้ไอ dextromethorphan, pethidine,
ยาที่เป็นกลุ่ม amphetamine analog
Lithium
ประคับประคอง (supportive) ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะพบบ่อย เช่น
ภาวะไข้สูง
การลดไข้ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นและเป่าพัดลมได้ผลดี ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้
อาการชัก, coma, disseminated intravascular coagulopathy (DIC),
rhabdomyolysis
electrolyte imbalance
organ failure เป็นต้น
รักษาอาการ muscle rigidity
benzodiazepine
dantrolene
ยาต้านฤทธิ์ของ 5-HT
cyproheptadine โดยออกฤทธิ์เป็น 5-HT1A และ 5-HT2A antagonist
Periactin 4-8 mg ทุก 1-4 hr จนอาการดีขึ้น หรือขนาดสูงสุด 32 mg ต่อวัน