Insulin
ตารางเปรียบเทียบยาฉีด Insulin
Dawn phenomenon vs Smogyi phenomenon
Smogyi phenomenon
คือ การเกิด rebound hyperglycemia หลัง การเกิดnocturnal hypoglycemia
เกิดจากการที่เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ counter regulatory hormone (glucagon cortisol epinephrine) เพิ่มสูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับระดับน้ำตาลที่ต่ำลง เมื่อ hormone เหล่านี้หลั่งมาก ทำให้เกิด hyperglycemia ตามมา
Dawn phenomenon
คือ การที่มี morning hyperglycemia จากการที่ counter regulatory hormone (glucagon cortisol หลั่งเพิ่มขึ้นตอนใกล้รุ่ง; ตี 3- ตี 5) ซึ่งเป็นภาวะปกติ
ในคนปกติ จะมี endogenous insulin production ช่วยต่อสู้ไว้จึงไม่เกิดน้ำตาลสูง แต่คนไข้เบาหวานมีการหลั่ง insulin บกพร่อง ทำให้เกิดน้ำตาลสูงตอนเช้า
จึงเป็นที่มาของการเจาะน้ำตาล ตี 3 ว่าต่ำหรือไม่ เมื่อมี morning hyperglycemia
ถ้าน้ำตาล ตี 3 ต่ำ = Smogyi phenomenon > ให้ ลดยาฉีดก่อนนอน / มื้อเย็น ลง
ถ้าน้ำตาล ตี 3 ปกติ/สูง = Dawn phenomenon > ปรับยาฉีด basal ขึ้น / กินอาหารเย็นให้เร็วขึ้น / เลื่อนอินซูลินมาเป็นก่อนนอน เป็นต้น เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ตอนน้ำตาลสูงคือในช่วงใกล้เช้าพอดี
ถ้าน้ำตาล ตี 3 สูง แล้ว ตอนเข้าสูงมากๆๆ = น่าจะเกิดจากขนาดอินซูลินไม่เพียงพอ > แก้ไขโดยการเพิ่มขาดยา
แต่จริง ๆ แล้ว Smogyi พบน้อยมากใน Type2 DM แต่พบได้บ้างใน Type1DM มีการศึกษาในผู้ป่วยtype1 DM 89 คนโดยการติดตามglucoseอย่างต่อเนื่อง(CGMS) พบว่าในคนไข้ที่มีnocturnal hypoglycemia น้ำตาลตอนเช้าจะยิ่งต่ำลง มีเพียงแค่ 2 คน เท่านั้น ที่เมื่อเกิด nocturnal hypoglycmia แล้ว ตอนเช้าน้ำตาล เกิน 180 mg% ( Smogyi effect)
จะเห็นว่า Smogyi rare มากๆ ไม่ได้เจอกันบ่อยๆ Dawn น่าจะพบมากกว่า แต่ใน type 1 อย่าลืมคิดถึงไว้บ้าง
Reference
Do high fasting glucose levels suggest nocturnal hypoglycaemia? The Somogyi effect-more fiction than fact?.Diabet Med. 2013; 30(8):914-7