ACP

การแจ้งข่าวร้าย (breaking bad news)  : นิยมใช้เทคนิค “SPIKES” โดย Buckman

S : setting up

- เตรียม สถานที่ สงบพอสมควร ให้ผู้ป่วยและญาติทุกคนนั่ง ตัดสิ่งรบกวน 

- เตรียม กระดาษทิชชู 

- ทบทวนประวัติและผลตรวจของผู้ป่วยให้พร้อม


P : patient perception

- ประเมินว่าผู้ป่วยทราบอะไรมาแล้วบ้าง

- ถ้าญาติ/ผู้ป่วย ไม่ทราบ อาจเกิดจาก 

- แพทย์คนก่อนหน้าไม่ได้อธิบายจริงๆ หรือ 

- ทราบแต่พยายามปฏิเสธ (denial) ต่อสิ่งที่แพทย์คนก่อนหน้าพูดไว้ พยายาม explore หาสาเหตุ


I : invitation of bad news

เชื้อเชิญให้ผู้ป่วยทราบว่าแพทย์กำลังจะบอกข่าวร้าย เช่น 


K : Knowledge


E : Emotion

รับมือกับอารมณ์ของผู้ป่วย เช่น 

- ร้องให้ (cry) ควรเงียบให้ผู้ป่วยร้องไห้สักพัก ยื่นกระดาษทิชชูให้ สัมผัสโดยแตะมือผู้ป่วยเบาๆ ,  

- โกรธ(anger) ควรให้ผู้ป่วยระบายออกมา จนเริ่มสงบอาการ แล้วเราอาจพูดว่า หมอขอบคุณที่คุณสมชายบอกให้หมอทราบ หมอเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ควรไปแก้ตัวแทนผู้อื่น

- ปฏิเสธ (denial) ควรรับฟัง แสดงความเห็นใจ ไม่ควรไปตอกย้ำผลตรวจที่ออกมาแก้ผู้ป่วย เช่น
“หมอเข้าใจ คุณสมชายคงไม่อยากเชื้อ”

- ต่อรอง (bargaining) ยังลังเล สองจิตสองใจ ไม่อยากรับฟังผล แพทย์ควรรับฟัง ให้เวลากับผู้ป่วย อาจจะนัดมาใหม่ภายหลัง

- ช็อก (shock) หรือเงียบไป (silence) ควรให้ผู้ป่วยเงียบอยู่กับตนเองสักครู่ แล้วถามหยั่ง (probing) ดู เช่น
ดูคุณเงียบไป คุณรู้สึกอย่างไร บอกหมอหน่อยครับ



S : Strategy and summary

คือการวางแผน ต่อไปและการสรุป 

- “พร้อมจะให้แพทย์พูดคุยต่อเรื่องแนวทางต่อไปหรือไม่ “

- ควรพูดช้าๆ พูดให้น้อย เฉพาะสิ่งจำเป็น และ ask-tell-ask เป็นระยะๆ ก่อนจบการสนทนา เปิดโอกาสให้ซักถาม แล้วสรุปสิ่งที่พูดในวันนี้ และนัดหมายพบกันครั้งถัดไป