Aphasia
มีปัญหาเรื่องการรับรู้เข้าใจในภาษา (Wernicke’s Aphasia) "เวอร์-นิก-เก้ เอ๋ๆๆๆๆๆๆ งงงง"
พูดได้คล่อง ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
แต่ไม่สามารถเข้าใจคำพูดนั้นๆได้ ยิ่งถ้าเป็นประโยคที่ซับซ้อนจะไม่เข้าใจมาก
ไม่สามารถพูดตามได้เนื่องจากไม่เข้าใจในสิ่งที่พูดตาม
ไม่สามารถเขียนหนังสือตามคำบอกได้ ใ
จะพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เส้นเลือด Middle cerebral artery ที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองบริเวณ left superior temporal lobe
มีปัญหาเรื่องการแสดงออกทางภาษา แต่มีความเข้าใจในภาษาที่ปกติ (Broca’s Aphasia)
สามารเข้าใจคำพูดของผู้อื่นได้
แต่พูดไม่ชัดและไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้
ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ทำให้ผู้ป่วยพูดไม่คล่อง
พบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เส้นเลือด Middle cerebral artery อยู่ในบริเวณสมองส่วนหน้าทางซีกซ้าย (left frontal lobe)
ปัญหาทางการพูดและการสื่อความหมายที่อาจจะพบได้ในผู้ป่วย
1. ภาวะเสียการสื่อความหมาย ( Aphasia)
• บกพร่องในด้านการพูด(Motor aphasia) ตำแหน่งที่มีปัญหา Broca’s Area – ผู้ป่วยจะพูดลำบาก หรือ พูดไม่ได้เลย แต่จะฟังเข้าใจ
• บกพร่องในด้านความเข้าใจ(Sensory aphasia) ตำแหน่งที่มีปัญหา Wennicke’s Area – ผู้ป่วยจะฟังผู้อื่นไม่เข้าใจ แต่สามารถพูดได้ปกติ
• มีปัญหา 2 อย่างร่วมกัน(Global aphasia) ตำแหน่งที่มีปัญหา Arcuate fasciculus - ผู้ป่วยจะฟังไม่รู้เรื่องและพูดลำบาก
2. อาการพูดไม่ชัด(Dysarthria) – เกิดจากปัญหาที่กล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด ทำให้ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดช้า พูดเบา
การฝึกพูดเบื้องต้นผู้ที่มีอวัยวะที่ใช้ในการพูดอ่อนแรง
1. นวดกระตุ้นกล้ามเนื้อปาก-ลิ้น
2. ฝึกเป่าปาก
2.1 เป่าลมออกจากปากให้ยาวที่สุด
2.2 เป่ากระดาษทิชชู่
3.ฝึกบริหารริมฝีปาก
3.1 อ้าปาก – ปิดปาก
3.2 ห่อปาก – ยิงฟัน
3.3เป๊าะปาก
3.4 อมลมแก้มป่องซ้าย – ขวา
4.ฝึกบริหารลิ้น
4.1 แลบลิ้นยาว
4.2 แลบลิ้นเข้า – ออก
4.3 ลิ้นแตะมุมปากซ้าย – ขวา
4.4 ลิ้นดันกระพุงแก้มซ้าย – ขวา
4.5 ลิ้นแตะหลังฟันบน - ล่าง
5.ฝึกออกเสียง
5.1 ออกเสียง อา-อี-อู
5.2 ออกเสียง ปา-ปา-ปา
การฝึกพูดเบื้องต้นผู้ที่มีปัญหาในการนึกคำพูดรวมทั้งปัญหาฟังเข้าใจคำพูด
1.การฝึกนึกคำพูด
1.1ร้องเพลงที่คุ้นเคย, นับเลข1-100, ท่องวัน
1.2ฝึกเรียกสิ่งของในชีวิตประจำวัน เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ โต๊ะ เก้าอี้
1.3ฝึกตอบคำถาม เช่น ให้บอกชื่อตัวเอง, บอกชื่ออาหาร
2.การฝึกฟังเข้าใจคำพูด
พูดคุยถามตอบเรื่องง่ายโดยให้ตอบ(ใช่/ไม่ใช่) - ที่นี่เป็นบ้านใช่หรือไม่
ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดจึงมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูความบกพร่องทางด้านการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด