EFM
Ref. https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/33346EFM = electronic fetal heart rate monitoring
หลักการอ่าน EFM
- Fetal heart rate baseline
- Baseline variability
- Acceleration
- การแปลผล
- Fetal heart rate baseline
อ่านผลในตำแหน่งที่ไม่มีดังต่อไปนี้
การเปลี่ยนแปลงของ FHR เช่น decelerations ชนิดต่าง ๆ
ช่วงที่มี marked FHR variability
ท่อนใดของการบันทึกที่ baseline แตกต่างกันมากกว่า 25 ครั้งต่อนาที ขึ้นไป
การบันทึกผล
Normal FHR : 110-160 bpm
Bradycardia : FHR < 110 bpm
Tachycardia : FHR > 160 bpm
FHR baseline = 150
2. Baseline variability
คือ ความแปรปรวนขึ้นลง (fluctuations) ของ FHR โดยประเมินจากการนับการเปลี่ยนแปลงขนาดขึ้นลงในแนวดิ่ง (amplitude) ระหว่างจุดสูงสุด (peak) และจุดต่ำสุด (trough) ของ FHR ด้วยตาเปล่า ดังนี้
การบันทึกผล
Absent variability : ไม่พบ HR (undetectable)
Minimal variability : 0 - 5 bpm
Moderate variability : 6 - 25 bpm (Normal)
Marked variability : > 25 bpm
3. Acceleration / Deceleration
GA >= 32 wk : เพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 15 ครั้งต่อนาที จาก baseline และระยะเวลานานอย่างน้อย 15 วินาที (แต่ไม่เกิน 2 นาที)
GA < 32 wk : เพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 10 ครั้งต่อนาที จาก baseline และระยะเวลานานอย่างน้อย 10 วินาที (แต่ไม่เกิน 2 นาที)
Other technical term
Prolonged acceleration หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR ที่มีระยะเวลานานมากกว่าหรือเท่ากับ 2 นาที (แต่ไม่เกิน 10 นาที)
FHR baseline change หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR ที่มีระยะเวลานานมากกว่าหรือเท่ากับ 10 นาทีขึ้นไป
Early deceleration
Late deceleration
Variable deceleration
Prolonged deceleration
Sinusoidal pattern
ระบบการแปลผลรูปแบบการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
(Three-Tiered Fetal Heart Rate Interpretation System)
Category I
เป็นกลุ่ม FHR ปกติ สัมพันธ์กับสภาวะกรดด่างที่ปกติ ซึ่งมีครบทุกลักษณะดังต่อไปนี้
Baseline rate: 110–160 beats per minute (bpm)
Baseline FHR variability: moderate
Late or variable decelerations: absent
Early decelerations: present or absent
Accelerations: present or absent
Tx. เฝ้าติดตามทารกในครรภ์ต่อไป
Category II (ก้ำกึ่ง)
เป็นกลุ่ม FHR ก้ำกึ่ง (intermediate) ทำนายสภาวะกรดด่างได้ไม่ดีนัก
ประกอบด้วยลักษณะที่ไม่เข้ากับกลุ่มที่ I และกลุ่มที่ III เช่นมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
Baseline rate
Bradycardia not accompanied by absent baseline variability
Tachycardia
Baseline FHR variability
Minimal baseline variability
Absent baseline variability not accompanied by recurrent decelerations
Marked baseline variability
Accelerations
Absence of induced accelerations after fetal stimulation
Periodic or episodic decelerations
Recurrent variable decelerations accompanied by minimal or moderate baseline variability
Prolonged deceleration > 2 minutes but <10 minutes
Recurrent late decelerations with moderate baseline variability
Variable decelerations with other characteristics, such as slow return to baseline, “overshoots,” or “shoulders”
Management
เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในกรณียังไม่คลอด
การแก้ไขเบื้องต้น = intrauterine resuscitation (IUR)
ปรับท่ามารดา เช่น นอนตะแคงซ้าย (Lt. lateral decubitus) จริงๆแล้วข้างใดก็ได้
ให้ออกซิเจน
O2 cannular / MAsk with bag
ให้น้ำเกลือ (และหากมีภาวะความดันโลหิตต่ำจาก regional anesthesia ให้แก้ไข)
NSS IV rate 80 mL/hr
5%D/N/2 IV rate 80 mL/hr
หยุดให้ oxytocin
ตรวจภายในเพื่อประเมินปากมดลูก และภาวะสายสะดือโผล่ย้อย (umbilical cord prolapse)
ประเมินภาวะ uterine tachysystole* และแก้ไขโดยให้ terbutaline 0.25 มิลลิกรัม (½ amp) ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ในกรณี FHR ที่ผิดปกติสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก 5
การแก้ไขจำเพาะ
อาจทำ amnio infusion
เติม normal saline 500 มิลลิลิตร เข้าไปในโพรงมดลูก และหยดต่อเนื่องในอัตราเร็ว 3 มิลลิลิตรต่อนาที
ในกรณี recurrent severe variable deceleration หรือ prolonged deceleration ที่ปากมดลูกเปิดพอสมควร
ผ่าตัดคลอด
ในกรณี recurrent severe variable deceleration หรือ prolonged deceleration ที่ปากมดลูกยังอยู่ในระยะแรกของการคลอด หรือทำ amnioinfusion แล้วไม่ได้ผล
ผ่าตัดคลอด ในกรณี bradycardia ที่ปากมดลูกยังเปิดไม่หมด โดยไม่ต้องทำ amnioinfusion
Category III
เป็นกลุ่ม FHR ผิดปกติ สัมพันธ์กับสภาวะกรดด่างที่ผิดปกติ ต้องการการแก้ไขโดยรีบด่วน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
Absent baseline FHR variability and any of the following:
Recurrent late decelerations
Recurrent variable decelerations
Bradycardia
Sinusoidal pattern
Management
ให้คลอดโดยเร็วที่สุด (ร่วมกับทำ intrauterine resuscitation ระหว่างรอ)
ให้คลอดทางช่องคลอด หากปากมดลูกเปิดหมดแล้ว
ผ่าตัดคลอด หากปากมดลูกยังเปิดไม่หมด